วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 18
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2559


อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนของเทอม2
และนัดส่งใบเช็คชื่อ
พร้อมกับแจกรางวัลเด็กดีให้แก่นักศึกษา




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2559


เป็นการลงพื้นที่จัดทำโครงการจริง
แต่เนื่องจากผมติดงานจัดดอกไม้งานแต่งงานจึงไม่สามารถไปช่วยเพื่อนๆได้
เลยช่วยโดยการจัดทำสื่อและอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559


ความรู้ที่ได้รับ
เริ่มจัดทำรูปเล่มโครงการและพูดคุยถึงความถูกต้องก่อนออกสถานที่จริง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559



อาจารย์พูดคุยกับกลุ่มว่าจะจัดโครงการในรูปแบบไหน
1.เนื้อหาการให้ความรู้ผู้ปกครอง
2.สถานที่จัดโครงการ
3.กิจกรรมในโครงการ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเนื้อหาโครงการมาให้ดูแล้วอาจารย์ก็ได้บอกว่าควรจะไปปรับหรือแก้ไขในส่วนไหนบ้าง บอกวิธีและขั้นต้อนในการทำโครงการว่าควรมีขั้นตอนไหนบ้าง ควรมีรายละเอียดส่วนไหนบ้างในเล่มโครงการที่เราจะต้องทำ

สิ่งที่ต้องจัดทำคือ
1.เขียนโครงการ ประกอบด้วย 11 หัวข้อ
  • ชื่อโครงการ
  • วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
  • เนื้อหา/หลักสูตร
  • เป้าหมาย 2 แบบ คือ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
  • วัน เวลาและสถานที่
  • รูปแบบโครงการ
  • แผนการดำเนินงาน
  • งบประมาณ
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • การติดตามผลและประเมินโครงการ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
2.คำสั่งแต่งตั้ง
3.กิจกรรมที่จะทำในโครงการ
4.การจัดเอกสารการให้ความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ แผ่นพับ
5.แบบประเมินโครงการ
6.แฟ้มโครงการ

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
สัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ให้ไปศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโครงการที่จะทำ วันนี้อาจารย์ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาสรุปปัญหาจากการออกไปศึกษาข้อมูลในเรื่องที่จะทำว่าพบปัญหาแบบไหนบ้าง และเราควรจะนำมาปรับยังไงเพื่อที่จะทำให้โครงการของเราที่จะทำเกิดผลสำเร็จ 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2559


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดชดเชยวันปิบมหาราช

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559


อาจารย์ให้ลงพื้นที่สำหรับการสำรวจความต้องการของผู้ปกครองปฐมวัย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์สอนเกี่ยวกับการเขียนโครงการ
ส่วนประกอบการเขียนโครงการมีดังนี้
1. ชื่อโครงการ การตั้งชื่อโครงการต้องมีความชัดเจน เหมาะสมและเฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายสำหรับผู้ปกครองโครงการไปใช้หรือผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับโครงการชื่อโครงการจะบอกให้ทราบว่าจะทำสิ่งใดบ้าง โครงการที่จัดทำขึ้นนั้นทำเพื่ออะไรชื่อโครงการโดยทั่วไปควรจะต้องแสดงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติลักษณะเฉพาะของโครงการและจุดมุ่งหมายของโครงการ

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการดำเนินการของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆภายในโครงการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือสามารถวัดและประเมินผลได้โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวัตถุประสงค์ได้มากกว่าหนึ่งข้อ

3.เนื้อหา/หลักสูตร เป็นเนื้อหาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมความรู้ต่างๆที่จะให้ผู้ปกครองได้รับอาจเป็นความรู้ที่สามารถอ้างอิงได้

4. เป้าหมาย มี 2 แบบ
-เชิงปริมาณ เช่น ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ3-5 ปี โรงเรียนวัดพิกุลเงินจำนวน 20คน
-เชิงคุณภาพ เช่น ผู้ปกครองร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถเล่านิทานได้

5. วันเวลาและสถานที่จัดสัมมนา ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการเป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ  จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใดโดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของโครงการโดยระบุวันเดือนปีที่เริ่มทำ และสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาวและมีหลายระยะก็ต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละระยะของโครงการนั้นด้วยเพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการ  พิจารณาอนุมัติโครงการเช่นวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา09.00-17.00น. ณ โรงเรียนวัดพิกุลเงิน

6. รูปแบบการจัดโครงการ เช่น การบรรยาย อภิปราย เกมส์

7. แผนการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลังเพื่อใช้ปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการดำเนินการจึงนำวัตถุประสงค์มาจำแนกแจกแจงเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม โดยจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการว่ามีกิจกรรมใดที่จะต้องทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะนำไปอธิบายโดยละเอียดในส่วนของการปฎิบัติงานหรือปฏิทินปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง แบ่งเป็น 3 หัวข้อย่อย
การเตรียมงาน(P)
การดำเนินงาน(D)
การนิเทศติดตามผล(C)
การสรุปและประเมินผล(A)

8.งบประมาณ แบ่งออกเป็น ค่าตอบแทน/ค่าใช้สอย/ค่าวัสดุอุปกรณ์

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดหวังว่าที่จะเกิดขึ้นหลังจากทำโครงการซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

10. การติดตามและประเมินโครงการ ในส่วนนี้จะแสดงถึงการติดตามการควบคุมการกำกับและการประเมินผลโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการควรระบุวิธีการที่ใช้ในการควบคุมและประเมินผลโครงการไว้ให้ชัดเจน ทั้งนี้อาจจะต้องระบุบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโครงการพร้อมทั้งบอกรูปแบบการประเมินผลโครงการ

11.ผู้รับผิดชอบโครงการ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559



ขาดเรียนเนื่องจากติดธุระทางบ้านครับ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559


สอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559


ความรู้ที่ได้รับ

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
           เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น




จดหมายข่าวและกิจกรรม
    เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ 

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
      เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย           

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
        ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
            ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
-  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ 

การสนทนา
     การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน 

ป้ายนิเทศ
     ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น

นิทรรศการ
เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง  

มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559


ไม่มีการเรียนการสอน
(อาจารย์ติดงานราชการ)

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5 
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ

โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับทั่งโลก ต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการจัดการศึกษา การให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างไปในแต่ละประเทศ โดยที่แต่ละประเทศได้ดำเนินยุทธศาสตร์การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย  

 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว บ้านล้อมรัก
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด ภายใต้คำขวัญ พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4ช่องทางคือ
 - ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้
- การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป

โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
- ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเรื่องคือ
1. ความพร้อมที่จะเรียน  พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ

โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยามการศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู (Parents as Teachers Program) และ โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน (Home Instruction for Preschool Youngsters Program)โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
- ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
- สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
- ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ

โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
                เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น การบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
- เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
- ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ

โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ

โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก โดยเฉพาะในด้านการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กเล็ก  ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน  โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)

โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ ถุงบุ๊คสตาร์ท

“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
- หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว เล่ม
- หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
- ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
- แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
- บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
- รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
- รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก